FIRE SUIT "BATTLE FIRE"
ใช้ในหน่วยดับเพลิงทั่วโลก ชุดดับเพลิง/ชุดผจญเพลิงในอาคาร (FIRE SUIT "BATTLE FIRE) หากเข้าไปดับไฟในอาคารโดยปราศจากชุดป้องกันที่ดีพอจะทำให้เกิดการบาดเจ็บจาก การถูกไฟเผาอย่างรุนแรง เหตุเพลิงไหม้ภายในอาคารสูงเป็นสถานการณ์ที่นักดับเพลิง ต้องใช้ความระวังระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะภายในอาคารที่เกิดไฟไหม้ ถือเป็นจุดที่อันตรายที่สุดหากไม่ระวัง
รายละเอียดชุดดับเพลิง BATTLE FIRE (Advance fabric)
ผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บ
Outer Shell : ผ้าชั้นนอก ผลิตด้วย Nomex Advance 7.0 oz/yd2 คุณสมบัติสามารถป้องกันความร้อนได้ดี และการถูกเผาไหม้ได้ดี วัสดุได้รับการรับรองมาตรฐาน NFPA 1971 และวัสดุผ่านการรับรองจาก UL Moisture Barrier : ผ้าชั้นที่สอง ผลิตจากวัสดุผสม Non-woven Spunlace Meta-aramid กับ Para-aramid เคลือบด้วยวัสดุ PTFE น้ำหนัก 190 กรัมต่อตารางเมตร Thermal Liner : ผ้าชั้นที่สาม ส่วนหน้าส่วนในสุดสีฟ้า ทำจากวัสดุ Nomex (Plain weave) ส่วนนวม(Batt) ผลิตจากวัสดุ 1 layer Aramid (needle punch) น้ำหนักรวม 7.2 oz/yd2 คุณสมบัติไม่ลุกลามไฟ ซับเหงื่อได้ดี และกระจายความชื่นออกไปได้เร็ว ช่วยให้ร่างกายไม่ชื่น สะดวกสบายในการปฏิบัติงาน
องค์ประกอบเสริม
Reflective Tape: เทปสะท้อนแสงทำจากวัสดุกันไฟ Aramid ผ่านการทำสอบการทนไฟอย่างน้อยที่ 500๐ F อย่างน้อย 5 นาที เทปสะท้อนแสงต้องได้รับมาตรฐาน NFPA 1971 รับรองโดย UL และได้รับมาตรฐาน EN471:2003+A12007 ซึ่งทดสอบ 50 รอบการซัก ที่อุณหภูมิ 90๐ C หรือมีคุณสมบติที่ดีกว่า Zipper ซิปทำด้วยวัสดุผ่านการทดสอบการลุกลามไฟ มาตรฐาน EN 469:2005 และ NFPA 2112 รับรองโดย UL หรือมาตรฐานที่ดีกว่า Sewing Thread: ด้ายที่ใช้ในการตัดเย็บ ทำด้วยวัสดุที่ผ่านการทดสอบการลุกลามไฟ อย่างน้อยมาตรฐาน EN 469:2005 Clause 6.1 และ NFPA 2112 ขนาดด้ายอย่างน้อยเบอร์ 30/3 Nomex Cuff: ข้อมือทำด้วยทำด้วยวัสดุที่ผ่านการทดสอบการลุกลามไฟ อย่างน้อยมาตรฐาน NFPA 1971, 2013 รับรองโดย UL หรือ CAN/CGSB 155.1, 2001 Edition น้ำหนักไม่น้อยกว่า 7.8 ออนซ์/ตารางหลา และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของข้อมือไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว
รูปแบบเสื้อ
1. ความยาว : วัดจากปกเสื้อ – ชายเสื้อ 32 นิ้ว
2. ปกเสื้อ
-
ความสูงของปกเสื้อ 4.0 นิ้ว ตัวปกเสื้อทำจากผ้าชั้นนอก 2 ชั้นเสริมด้วยชั้นกันความชื้นและชั้นกันความร้อน มีตีนตุ๊กแกตัวผู้ขนาด 1.5 x 3 นิ้ว ติดอยู่ด้านซ้ายของปกเสื้อ เพื่อใช้สำหรับยึดและปรับแถบปิดคอเสื้อ
3. แขนเสื้อ และข้อมือ
-
บริเวณข้อศอกมีการเสริมด้วยแผ่นหนังหรือผ้า Nomex เพื่อป้องกันการเสียดสีอันอาจจะเกิดขึ้นขณะใช้งาน (ส่วนเพิ่มเติม ไม่ได้มากับชุดมาตรฐาน)
-
ปลายแขนเสื้อเย็บเสริมด้วยหนังวัว กว้าง 1 นิ้ว เย็บโดยใช้ตะเข็บคู่
-
เสริมผ้าตรงส่วนรักแร้ เพื่อช่วยให้ยกแขนได้ง่าย ผ้าทำจากผ้าตามวัสดุชั้นนอก
-
ข้อมือทำจากผ้าถัก Nomex 2 ชั้น เส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 3.0 นิ้ว ความยาว อย่างน้อย 3.5 นิ้ว เย็บติดอยู่กับผ้าชั้นกันน้ำ
4. การยึดติดด้านหน้าตัวเสื้อและสาปปิดด้านหน้า
-
การยึดติดด้านหน้า (ทั่วไป) ใช้ซิปชนิดรูดได้สองทาง วัสดุทองเหลืองหรือพลาสติกอย่างน้อยเบอร์ 8 ความยาวไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร โดยซิปต้องมีสาบรองด้านหลัง และต้องเป็นวัสดุตัวเดียวกับผ้าชั้นนอก เพื่อป้องกันซิปไม่ให้ผู้สวมใส่บาดเจ็บ
-
สาปปิดด้านหน้าขนาดไม่น้อยกว่า 4.5” x 24” ซึ่งทำจากผ้าชั้นนอก 2 ชิ้น เย็บปะกบกับผ้าชั้นกันน้ำ สาปปิดด้านหน้ามีตีนตุ๊กแกตัวผู้ขนาด 1½” ติดอยู่และตีนตุ๊กแกตัวเมียติดอยู่ที่ตัว บริเวณที่เย็บต่อกับตัวเสื้อ ต้องเย็บเป็นตัวย้ำเป็นตัวหนอน ด้านบน และล่าง อย่างน้อย 2 จุด เพื่อป้องกันการขาดขณะดึง
-
แถบปิดคอด้านบนขนาด 3” x 8” วัสดุเช่นเดียวกับสาปด้านหน้า บริเวณที่เย็บต่อกับคอเสื้อ ต้องเย็บเป็นตัวย้ำเป็นตัวหนอน ด้านบน และล่าง อย่างน้อย 2 จุด เพื่อป้องกันการขาดขณะดึงแถบ
5. ด้านหลังตัวเสื้อ
-
เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนไหว ขยับตัวได้ง่าย โดยทำเป็นจีบด้านหลังเสริมเข้าไปขนาดลึก 1 นิ้ว โดยเสริมตั้งแต่ไหล่ทั้งสองข้างลงมาไม่น้อยกว่า 12 นิ้ว
6. กระเป๋าด้านล่างใกล้ชายเสื้อด้านหน้า
-
มีกระเป๋าด้านหน้า 2 ใบ ขนาดอย่างน้อย 8” x 9” ก้นกระเป๋ามีความกว้าง 2 นิ้ว ฝาปิดขนาด 3.5” x 8” ฝาปิดใช้ตีนตุ๊กแกยึดติดขนาด 1” x 2” จำนวน 2 ตัว กระเป๋ามีการเจาะด้วยตาไก่ เพื่อระบายน้ำออก จำนวน 2 ตัว ด้านล่างของกระเป๋าสูงจากชายเสื้อไม่เกิน 1 นิ้ว
7. กระเป๋าเก็บวิทยุ
-
ด้านบนซ้ายมี กระเป๋า 1 ใบ ขนาดอย่างน้อย 4” x 7” ลึก 2 นิ้ว ฝาปิดขนาด 4” x 4” ฝาปิดใช้ตีนตุ๊กแกยึดติดขนาด 1” x 2” ก้นกระเป๋ามีการเจาะด้วยตาไก่ เพื่อระบายน้ำออก เหนือฝากระเป๋าเย็บเป็นห่วงสำหรับคล้องตะขอวิทยุ
8. การประกบติดกันของผ้าชั้นใน
-
ใช้ชั้นกันความชื้นและชั้นกันความร้อนเย็บติดเข้าด้วยกันโดยที่ความยาวของผ้าชั้นในนี้จะสั้นกว่าผ้าชั้นนอกไม่เกิน 1 นิ้ว ทั้งที่แขนเสื้อและชายเสื้อ
9. การประกบติดกันของผ้าชั้นในและผ้าชั้นนอก
-
เป็นแบบถอดแยกกันได้ ผ้าชั้นกันความชื้นและชั้นกันความร้อนยึดติดกับผ้าชั้นนอกโดยใช้กระดุมทองเหลืองจำนวนอย่างน้อย 12 เม็ด10.
10. กระเป๋า ฝาระเป๋า หรือบริเวณจุดคล้องต่างๆ เช่น ห่วงคล้องวิทยุ ต้องมีการเย็บย้ำเป็นตัวหนอน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และป้องกันการขาดขณะใช้งาน
รูปแบบกางเกง
1. ความยาว: วัดจากขอบเอวถึงปลายขา ยาว 40 นิ้ว
2. แถบปิดซิบ การยึดติดด้านใน และซิปกางเกง
-
แถบปิดซิปด้านหน้ากางเกง มีขนาดไม่น้อยกว่า 1.5 x 8” ซึ่งเย็บติดอยู่ทางด้านซ้าย โดยตัวแถบนี้ทำขึ้นจากผ้าชั้นนอก และชั้นกันความร้อนยึดติดเข้าด้วยกัน บริเวณที่เย็บต่อกับกางเกงต้องเย็บเป็นตัวย้ำเป็นตัวหนอน ด้านบน และล่าง อย่างน้อย 2 จุด เพื่อป้องกันการขาดขณะดึงแถบ
-
ด้านในมีการเสริมด้วยชั้นกันความร้อน และชั้นกันความชื้น ขนาดไม่น้อยกว่า 3” x 8” ซึ่งเย็บติดอยู่ทางด้านซ้ายผ้าชั้นนอกของสาปปิดด้านหน้า
-
การประกบติดตัวกางเกงด้านหน้าโดยใช้ซิปทองเหลือง หรือพลาสติก อย่างน้อยเบอร์ 8 ขนาดความยาวอย่างน้อย 15 ซม. ใช้ตีนตุ๊กแกขนาด 1.5” x 8” ยึดติดสาปด้านหน้าซึ่งปิดทับซิปอีกชั้นหนึ่ง
-
บริเวณโดยรอบของเอวด้านใน มีชายผ้าขนาดความกว้าง 2.5” โดยรอบ ซึ่งทำจากผ้าชั้นกันความร้อนและชั้นกันความชื้น โดยใช้การเย็บแบบตะเข็บคู่
-
การยึดติดของผ้าชั้นในและผ้าชั้นนอก ใช้กระดุมทองเหลือง จำนวน 12 เม็ด
-
บริเวณด้านล่างของปลายขา ยึดติดกันโดยใช้กระดุม 2 เม็ด เชื่อมติดกับผ้าชั้นนอก
3. กระเป๋า
-
มีกระเป๋าจำนวน 2 ใบ ขนาดไม่น้อยกว่า 10” x 9” x 2” และฝาปิดขนาดไม่น้อยกว่า 4” x 10” โดยอยู่ตรงกลางด้านข้างของตัวกางเกง ฝากระเป๋ามีตีนตุ๊กแกขนาดไม่น้อยกว่า 1.5” x 1.5” และก้นกระเป๋าติดตาไก่ เพื่อระบายน้ำ จำนวน 2 ตัว
4. สายรัดด้านข้างเอว
-
เอวสามารถปรับได้โดยใช้สายรัดขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว ซึ่งทำจากผ้าชนิดเดียวกันกับผ้าชั้นนอก และตีนตุ๊กแกอยู่ด้านข้างของเอว หรือ ใช้ห่วงยึดขนาด 1 นิ้ว (lock อัตโนมัติ)
5. ขากางเกง
-
ปลายขาของผ้าชั้นนอกเย็บเสริมด้วยหนังวัว ขนาด 1 นิ้ว โดยใช้ตะเข็บคู่
-
บริเวณเข่ามีการเสริมด้วยหนังวัวขนาดไม่น้อยกว่า 9” x 9” หรือเสริมด้วยผ้าชั้นนอกขนาดเดียวกับหนังอีกชั้นหนึ่ง
6. สายโยงบ่า
-
กางเกงจะต้องมีสายโยงบ่าที่สามารถถอดได้ ซึ่งสายโยงบ่านี้ประกอบด้วย สายผ้า Cotton หรือ สายอื่นๆ ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ขนาด 2 นิ้ว
-
เย็บสายโยงบ่าเข้ากับตัวล็อคตัวเมีย ที่เอวกางเกงด้านหน้า 2 ชิ้น และด้านหลัง 2 ชิ้น
-
สายโยงบ่าเย็บเป็นตัว H โดยปลายทั้งหมด (4 ปลาย) เย็บติดกับตัวล็อคตัวผู้ และสายโยงบ่าต้องสามารถปรับความเพิ่ม/ลด ความยาวได้ตามความพอดีของผู้สวมใส่